คนทีเขมา

สมุนไพรไทยกับสุขภาพ โดย…บ้านคุณหมอ

รูปต้นคนทีเขมา

ต้นคนทีเขมา


ชื่ออื่นๆเช่น กูนิง(มาเลเซีย-นราธิวาส),กุโนมากอ(มาเลเซีย-ปัตตานี),หวงจิง(จีนกลาง),อึ่งแกง(แต้จิ๋ว),Chinese chaste,Indian privet,Negundo Chest Nut
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitex negundo วงศ์ VERBENACEAE
เป็นสมุนไพรไทยไม้พุ่มประเภทยืนต้น มีอายุหลายปี ไม่มีแกน ลักษณะเด่นก้านใบมี 3 ใบย่อย ปลายใบแหลม กลิ่นหอม หากเปรียบเทียบกับต้นคนทีสอจะคล้ายคลึงกัน แต่คนทีสอปลายใบไม่แหลม
ต้น สูงประมาณ 6 เมตร แตกกิ่งก้านมาก กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม มีสีเทา มีขนปกคลุม กิ่งมีกลิ่นหอม
รูปดอกคนทีเขมา

ดอกคนทีเขมา

ใบ เป็นใบรวม ลักษณะคล้ายรูปมือ ประกอบด้วยใบย่อย 5 ใบ ปลายใบยาวแหลม ขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย หลังใบมีสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีสีขาว และมีขนอ่อนปกคลุม
ดอก เป็นดอกช่อขนาดเล็กจำนวนมากอยู่ตรงปลายยอด ดอกสีม่วง โคนกลีบดอกติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกคล้ายริมฝีปาก ปากบนแยกเป็น 3 แฉก ปากล่าง 2 แฉก
ผล ทรงกลมรี สีน้ำตาล เปลือกแข็ง ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด
สรรพคุณ
กิ่ง แก้ไข้หวัด ไอ เจ็บคอ ปวดข้อ ปวดฟัน แผลพุพองจากไฟไหม้
ใบ เป็นยารักษาไข้หวัด เจ็บคอ ไอ ปวดตามข้อ หูอื้อ ลำไส้อักเสบ รักษาบิดไม่มีตัว รักษาไข้มาเลาเรีย ดีซ่าน บวม ฟกช้ำ กลาก ฝี เกลื้อน เชื้อราที่เท้า บาดแผลจากของมีคม สุนัข หรือตะขาบกัด ผสมกับน้ำอาบเพื่อให้มีกลิ่นหอม หรือจะใช้ทาหน้าผากรักษาอาการปวดศีรษะ
ผล เป็นยาขับเสมหะ รักษาไข้หวัด หอบหืด เหน็บชา ปวดท้องโรคกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารเป็นแผล กระเพาะอาหารอัเสบเรื้อรัง ไข้มาลาเรีย ไข้รากสาดน้อย
ช่อดอก ใช้เป็นยาฝาดสมานลดไข้ รักษาอาการท้องเสีย
ราก รักษาไข้หวัด ขับเสมหะ ไอ หอบหืด ขับปัสสาวะ โรคกระเพาะอาหาร ขับพยาธิเส้นด้าย โรคปวดตามข้อ รักษาโรคไข้มาลาเรีย
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการสร้าง plaque ลดการอักเสบ ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้ปวด ยับยั้งพยาธิเท้าช้าง ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ยับยั้งการหลั่งฮีสตามีน ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ ต้านไวรัส เป็นพิษต่อเซลล์ ยับยั้งเอนไซม์ GPT ยับยั้งการตกไข่ ยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน ยับยั้งฤทธิ์ของเอสโตรเจน ฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจน ยับยั้งผลของแอนโดรเจน ยับยั้งการสร้างอสุจิ ขับปัสสาวะ ยับยั้งการเป็นพิษต่อตับ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ฆ่าพยาธิไส้เดือน ไล่แมลง ฆ่าแมลง
การทดสอบความเป็นพิษ พบว่าเมื่อฉีดสารสกัดของพืชส่วนที่อยู่เหนือดินสกัดด้วยเอธานอลและน้ำ(1:1)เข้าช่องท้องของหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง มากกว่า 1 กรัม/กิโลกรัม

รูปยาบรรเทาริดสีดวงทวาร เอส พี